วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ครั้งที่ 6 วันอังคาร 23  กันยายน 2557

เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น.


Article

1. สอนลูกเรื่องพืช
2. เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทาน
3. แนวทางสอนคิดวิทย์ให้เด็กอนุบาล
4. การทดลองวิทยาศาสตร์สนุกๆ สำหรับคุณหนูๆ

เนื้อหาความรู้

     วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาเรียนรู้ผ่านการลงมือการกระทำปฏิบัติด้วยตนเอง และอาจารย์อธิบายเรื่องการสรุปความลับของแสง และทำกิจกรรมในห้องเรียน


กิจกรรมแรก

1.พับกระดาษแบ่งครึ่ง
2.วาดภาพที่มีความสัมพันธ์
3.ตกแต่งให้สวยงาม
4.จากนั้นก็ติดไม้ลูกชิ้นไว้ตรงกลางด้านใน
5.ติดเทปกาวด้านข้างประกบกัน


ผลงานของดิฉัน



   จากกิจกรรมที่ได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมนี้สามารถทำได้ไม่ยาก เป็นวัสดุเหลือใช้ทั้งนั้น เป็นการใช้ประโยชน์ของสิ่งของต่างๆที่ไม่ใช้แล้วอย่างคุ้มค่า


ความรู้เพิ่มเติม

     หลักการเรียนการสอนตามทฤษฎี Constructionism เป็นการเรียนการสอนที่ผู้เรียนเรียนรู้จากการสร้างงาน ผู้เรียนได้ดำเนินกิจกรรมการเรียนด้วยตนเองโดยการลงมือปฏิบัติหรือสร้างงานที่ตนเองสนใจ ในขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้สัมผัสและแลกเปลี่ยนความรู้กับสมาชิกในกลุ่ม ผู้เรียนจะสร้างองค์ความรู้ขึ้นด้วยตนเองจากการปฎิบัติงานที่มีความหมายต่อตนเอง ครูผู้สอนจะต้องสร้างให้เกิดองค์ประกอบครบทั้ง 3 ประการ คือ 1) ให้ผู้เรียนได้ลงมือประกอบกิจกรรมด้วยตนเอง (ได้สร้างงาน) ตามความสนใจ ตามความชอบหรือความถนัด ของแต่ละบุคคล 2) ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ภายใต้บรรยากาศและสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ที่ดี 3) มีเครื่องมืออุปกรณ์ในการประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม

การนำมาประยุกต์ใช้

     การนำทฤษฎี Constructionism มาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนปกตินั้น ครูสามารถประยุกต์ใช้ได้ง่ายในวิชาที่มีการปฏิบัติหรือวิชาที่ต้องการฝึกทักษะ โดยแยกแยะได้ 3 ลักษณะ คือ
  • ประยุกต์ใช้บางส่วน กล่าวคือ นำทฤษฎี Constructionism มาประยุกต์ใช้เป็นครั้งคราว โดยเลือกให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และเนื้อหา
  • ประยุกต์ใช้ในชั่วโมงปฏิบัติเต็มเวลา กล่าวคือ นำทฤษฎี Constructionism มาประยุกต์ใช้ในชั่วโมงปฏิบัติทั้งหมดของวิชานั้น โดยครูให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติและเชื่อมโยงความรู้ให้สัมพันธ์กับทฤษฎีที่เรียน
  • ประยุกต์ใช้ทั้งวิชา กล่าวคือ นำทฤษฎี Constructionism มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนทั้งวิชา ซึ่งนับว่าเป็นวิธีที่ดีหากปฏิบัติได้จริง เพราะการเปลี่ยนแปลงความคิดและทัศนคติของผู้เรียนนั้นจะต้องอาศัยระยะเวลานานพอสมควรและจะต้องทำอย่างต่อเนื่องจึงจะเห็นผล

ประเมินตนเอง

     เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจลงมือปฏิบัติ แต่งกายเรียบร้อย จดบันทึกระหว่างการเรียน

ประเมินเพื่อน

     เพื่อนๆแต่งกายเป็นระเบียบ ตั้งใจทำกิจกรรมกันอย่างเต็มที่ ในห้องมีความสนุกสนาน

ประเมินอาจารย์

     อาจารย์เตรียมการสอนมาเต็มที่ การให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติเรียนรู้ด้วยตนเองทำให้เข้าใจมากขึ้น ทำให้ห้องมีความสนุกสนานไม่ตึงเครียด




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น