วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557

วิจัย

ชื่อวิจัย : การพัฒนากระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐานของเด็กปฐมวัยโดยการใช้รูปแบบกิจกรรม ศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ 
ของ : ณัฐชุดา สาครเจริญ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร
            
     วิจัยนี้เป็นการส่งเสริมพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย และเป็นแนวทางให้ครูและผู้เกี่ยวข้องได้พัฒนารูปแบบในการจัดประสบการณ์ใหม่ๆให้กับเด็ก เพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของการศึกษาและเกิดความหลากหลายในการจัดการศึกษามากขึ้น

นิยามศัพท์เฉพาะ
1.เด็กปฐมวัย คือ นักเรียนชายและหญิง อายุ 5-6ปี เรียนอยู่ชั้นอนุบาล 2 ภาคเรียนที่2/2547 โรงเรียนสามเสนนอก
2.การพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์พื้นฐาน คือ ระดับของการเปลี่ยนพฤติกรรมในการเรียนรู้ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็ก โดยการประเมินจากการสังเกต การจำแนก การวัด การสื่อสาร การหามิติสัมพันธ์ การลงความเห็น
3.รูปแบบกิจกรรม ศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ คือ กิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้ศิลปะสร้างสรรค์เป็นสื่อในการสร้างสาระหรือสิ่งที่เรียนรู้ ความเข้าใจและมีความสุขกับการเรียน

ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม การจัดรูปแบบกิจกรรม ศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ มี 4ขั้นตอน ดังนี้
1.ขั้นกระตุ้นการเรียนรู้ เป็นขั้นการจัดกิจกรรมจูงใจให้เด็กสนใจเรียนรู้สาระที่ต้องการ
2.ขั้นกรองสู่มโนทัศน์  เป็นขั้นกระตุ้นให้เด็กคิดเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในสาระที่เรียนให้มากยิ่งขึ้น
3.ขั้นนำสู่งานศิลปะ ขั้นของการนำความรู้ความเข้าใจหรือย้ำความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่เรียนด้วยศิลปะ
4.ขั้นสรุปสาระที่เรียน ขั้นสุดท้ายของการเรียนรู้ที่เด็กจะสรุปสิ่งที่เรียนมาตามจุดประสงค์การสอน

กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชายและหญิง อายุ 5-6ปี เรียนอยู่ชั้นอนุบาล 2 โรงเรียนสามเสนนอก จำนวน 15 คน

ผลการวิจัย
คะแนนก่อนและหลังทำการทดลองมีความแตกต่างกัน เกณฑ์อยู่ในระดับที่ดีโดยเฉลี่ยสูงกว่าก่อนทดลอง

โดยลักษณะของกิจกรรมให้เด็กได้แสดงออกผ่านงานศิลปะ การสื่อสารความคิดความรู้สึกต่างๆ การสังเกตและการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 การจำแนกความเหมือนและความต่างของภาพ การวัดจากสิ่งของจริงแล้วนำมาวาดรูปจากขนาดที่ได้เห็น การลงความเห็นเด็กจะนำความรู้เดิมกับความรู้ใหม่มาผนวกกัน และเด็กจะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน  ซึ่งเป็นลักษณะของการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ครูสามารถใช้วิธีการจัดรูปแบบศิลปะสร้างสรรค์เพื่อการเรียนรู้ในชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมกระบวนการวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยได้

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 15

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ครั้งที่  15 วันอังคาร 25  พฤศจิกายน 2557

เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น.




     วันนี้ช่วงแรกอาจารย์เปิดประเด็นด้วยเรื่องแผนการสอนที่นักศึกษากำลังทำอยู่ว่าปัญหาเรื่องอะไรบ้าง เพื่อนๆแต่ละกลุ่มจะมีไม่ปัญหาที่ไม่เหมือนกัน ของกลุ่มดิฉันจะเป็นเรื่อง Mind Mapping ยังเขียนไม่ถูกต้อง และขั้นนำของแผนในแต่ละวัน หลังจากนั้นอาจารย์ก็ให้นักศึกษาส่งของเล่นวิทยาศาสตร์อีกครั้งเพื่อจัดหมวดหมู่ของเล่นแต่ละชนิดว่าอยู่หมวดใดบ้าง


ภาพตัวอย่างการนำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์



จากนั้นอาจารย์ให้นำเสนอโทรทัศน์ครูและวิจัย

โทรทัศน์ครู

- ไฟฟ้าและพันธุ์พืช
- การทดลองการละลายของสาร
- เสียงมาจากไหน

วิจัย

กระบวนการส่งเสริมการแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ 
- การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมการเรียนแบบต่อภาพ
ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย 


กิจกรรม : การทำไอติมหวานเย็น

อุปกรณ์
1. น้ำแดงเฮลซ์บลูบอย
2. น้ำเปล่า
3. ถุงใส
4. หนังยาง
5. เกลือเม็ด
6.น้ำแข็ง
7. หม้อ
8. กะละมัง
9. กรวย
10. ที่ตักแกง
อุปกรณ์



ขั้นตอนการทำ

1. นำน้ำแดงผสมกับน้ำเปล่า แล้วตักน้ำใส่ลงในถุง


2. มัดถุงให้แน่นนำไปใส่ไว้ในหม้อ


3. ใส่น้ำแข็งและเกลือเม็ดลงในหม้อแล้วเขย่าไป-มา




ภาพการทดลอง


 ข้างซ้ายก่อนเขย่ากับข้างขวาเมื่อเขย่าแล้ว


การนำไปประยุกต์ใช้

     นำกิจกรรมไปสอนเด็กได้เรื่องของเหลวเปลี่ยนสถานะเป็นของแข็ง ให้เด็กได้ประสบการณ์โดยตรงจากการลงมือปฏิบัติ ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้ทักษะด้านต่างๆ

ประเมินตนเอง

     เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจนำเสนองานและจดบันทึกระหว่างเรียน มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม

ประเมินเพื่อน

     เตรียมสื่อมานำเสนอ มีความพร้อมในการนำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครู แสดงความคิดเห็นร่วมกัน มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม

ประเมินอาจารย์

     วันนี้อาจารย์ใช้คำถามปลายเปิดกระตุ้นให้นักศึกษาได้คิดได้หาคำตอบ มีกิจกรรมระหว่างการสอน ทำให้นักศึกษามีความสนใจสนุกกับการทำกิจกรรม อาจารย์อธิบายต่อยอดให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น



โทรทัศน์ครู

สรุปโทรทัศน์ครู


ชื่อวิดีโอ : สื่อแสงแสนสนุก ตอนที่1

โดย : อาจารย์เฉลิมชัย วัดเข้าหลาม โรงเรียนราชวินิต

       แสงมีเรื่องย่อยหลายเรื่อง  คือ

เรื่องของแสง
สมบัติของแสง
การสะท้อนของแสง
ตัวกลางของแสง
การหักเหของแสง
การเปลี่ยนรูปพลังงานของแสงไปเป็นรูปอื่นๆ

       การเรียนการสอน

       ก่อนจะสอนครูให้เด็กดูหน้าตัวเองที่กล่อง  กล่องจะมีกระจกติดอยู่  ข้างในกล่องจะมีหัวกะโหลก  พอเด็กส่องจะเห็นหน้าตัวเองแต่เมื่อครูเปิดไฟ  ก็จะทำให้เด็กเห็นหัวกะโหลก  จึงทำให้เด็กๆสนใจ  แล้วครูก็จะสามารถสอนเข้าเนื้อหาได้ง่าย
      
 เรื่องสมบัติของแสง

1.  แสงเดินทางเป็นเส้นตรง
2.  แสงสะท้อนทุกทิศทุกทาง
      
 การทดลองเรื่องของแสงเดินทางเป็นเส้นตรง

       นำฟิวเจอร์บอร์ดมาเจาะรู  แล้วเรียงเป็นเส้นตรงไปจนถึงเทียน  จากนั้นลอดเส้นด้ายให้ทะลุกันทุกแผ่น  เพื่อให้นักเรียนได้พิสูจน์การเดินทางของแสงเด็กจะเห็นเปลวเทียน  แต่เมื่อขยับฟิวเจอร์บอร์ดไม่ให้ตรงกัน  เด็กก็จะไม่เห็นเปลวเทียน
      
 การทดลองการสะท้อนของแสง

       นำกล่องเจาะรูแล้วให้เด็กส่องดู  ข้างในใส่ไฟฉายที่ไม่ได้เปิดไฟไว้  ทำให้เด็กมองไม่เห็นอะไร  แต่ถ้าเปิดไฟไว้จะมองเห็นไฟฉายที่อยู่ด้านใน  เพราะแสงจะสะท้อนกับวัตถุมาสู่ตา  จึงทำให้เรามองเห็นของที่อยู่ด้านในกล่อง
     
  หลังจากการทดลองเสร็จให้นักเรียนทำข้อสอบ  เพื่อทดสอบความรู้ในเรื่องที่เรียนเพื่อที่จะเรียนรู้ในเรื่องต่อไป



วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 14

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ครั้งที่  14 วันพุธ 19  พฤศจิกายน 2557

เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น.



     วันนี้อาจารย์ให้นำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครู ว่าส่งเสริมหรือแก้ไขด้วยวิธีใด มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ใช้แผนการจัดประสบการณ์แบบไหน เมื่อเพื่อนๆนำเสนอเสร็จอาจารย์สอนขั้่นตอนวิธีทำขนมวาฟเฟิล


กิจกรรมการทำขนมวาฟเฟิล

1. ก่อนจะเริ่มทำอาจารย์อธิบายขั้นตอนการทำก่อนจะให้นักศึกษาปฏิบัติ

                      

2. อาจารย์เตรียมอุปกรณ์การทำวาฟเฟิล ดังนี้

- แป้งวาฟเฟิลสำเร็จรูป
- ไข่ไก่
- น้ำ
- นม
- เนย
- ชีส
- ถ้วย
- แก้วน้ำ
- ที่ตัก ที่ตวง ที่ตีแป้ง แปรงทาเนย
- เครื่องทำวาฟเฟิล

3. แบ่งกลุ่มนักศึกษาออกเป็น 4 กลุ่มเท่าๆกัน แล้วอาจารย์แจกอุปกรณ์และส่วนผสมให้แต่ละกลุ่ม


4. เทนมลงในแป้งวาฟเฟิล จากนั้นก็ตีให้เข้ากัน


5. จากนั้นใส่ไข่ไก่ 1 ฟอง แล้วเติมน้ำลงไปนิดนึง


6. จากนั้นก็ใส่ชีส แล้วตีให้เข้ากันจนเป็นเนื้อเดียวกัน


7. นำแป้งที่ตีเข้ากันแล้ว ตักใส่ลงในถ้วย
  
 

8. จากนั้นทาเนยลงในเตาอบวาฟเฟิล ซักพักก็เทแป้งที่อยู่ในถ้วยลงในเตาอบ

 

9. ทิ้งไว้ซักพักทาเนยแล้วพลิกวาฟเฟิลอีกด้านหนึ่งขึ้น

 

10. เมื่อวาฟเฟิลสุกแล้วก็นำใส่จานเตรียมรับประทานได้
                     
                                                       


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

     สามารถนำไปใช้สอนเด็กปฐมวัยได้โดยมีคุณครูคอยช่วยเหลือ เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการเรียนรู้ สามารถนำไปประกอบอาชีพเสริมได้

ประเมินตนเอง

     เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์อธิบาย ลงมือปฏิบัติและมีส่วนร่วมกับเพื่อนในการทำงาน

ประเมินเพื่อน

     วันนี้เพื่อนๆเสียงดังนิดหน่อยอาจารย์เตือนก็เงียบลง ตั้งใจฟังอาจารย์และร่วมทำกิจกรรมในชั้นเรียนเป็นอย่างดี มีความสนุกสนานในการทำกิจกรรม เพื่อนๆมีความสุขห้องเรียนไม่ตึงเครียด

ประเมินอาจารย์

     วันนี้อาจารย์เตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี สอนสนุกนักศึกษาตั้งใจฟัง อาจารย์อธิบายให้นักศึกษาเข้าใจอย่างละเอียดก่อนลงมือปฏิบัติกิจกรรม ให้คำแนะนำกับนักศึกษาดีมาก


วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 13

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ครั้งที่  13 วันอังคาร 11  พฤศจิกายน 2557

เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น.


     วันนี้เราเรียน 2 กิจกรรม กิจกรรมช่วงแรกเป็นการนำเสนอแผนการจัดประสบการณ์ต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้วให้ครบหมดทุกกลุ่ม กิจกรรมช่วงท้ายเป็นการทำไข่ทาโกยากิ

กิจกรรมที่ 1

กลุ่มหน่วย สับปะรด กลุ่มนี้สอนเรื่องประโยชน์ การทำน้ำสับปะรด




กลุ่มหน่วย ส้ม กลุ่มนี้สอนเรื่องชนิดของส้ม เสริมด้วยการนับจำนวนของส้ม



กลุ่มหน่วย ทุเรียน กลุ่มนี้สอนเรื่องลักษณะของทุเรียน




กลุ่มหน่วย น้ำ กลุ่มนี้อาจารย์ให้สอนเกี่ยวกับการทดลอง



กลุ่มหน่วย ดิน กลุ่มนี้สอนเรื่องชนิดของดิน



กลุ่มหน่วย มด กลุ่มของดิฉันสอนเรื่องลักษณะของมด มดมีลักษณะที่แตกต่างกัน



กิจกรรมที่ 2

     กิจกรรมการทำไข่ทาโกยากิ จากกลุ่มหน่วยไข่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

มี 5 ขั้นตอนการทำ ดังนี้

1. การตัดกระดาษรองอาหาร

2. หั่นผักและปูอัด        


3. ตอกไข่แล้วตีไข่ให้เข้ากัน

4. ใส่เครื่องปรุงและส่วนผสมอื่นๆ

 

5. ทาเนยลงในกระทะแล้วใส่ไข่ที่ปรุงไว้ทอดให้สุก



** อาจารย์ให้กลุ่มหน่วยสับปะรดและกลุ่มหน่วยดิน นำเสนอแผนการจัดประสบการณ์ใหม่ในสัปดาห์หน้า

การนำความรู้มาประยุกต์ใช้

     การให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 การนำเทคนิคการสอนต่างๆของอาจารย์มาใช้ในการสอนเด็กปฐมวัยได้ นำคำแนะนำที่อาจารย์เพิ่มเติมในแต่ละกลุ่มมาปรับปรุงในการสอนครั้งต่อไป

ประเมินตนเอง

     วันนี้เตรียมความพร้อมในการสอนมาเป็นอย่างดี อาจจะสอนไม่ค่อยถูกตามแผนเท่าไร เมื่ออาจารย์แนะนำก็สอนได้ดีขึ้น มีส่วนร่วมในกิจกรรม

ประเมินเพื่อน

     เพื่อนๆมีส่วนร่วมในการสอนแผนและมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมไข่ ตั้งใจฟังเพื่อนๆสอน แสดงความคิดเห็นและตอบคำถาม

ประเมินอาจารย์

     อาจารย์มีกิจกรรมใหม่ที่สนใจมาสอนนักศึกษาอยู่เสมอทำให้นักศึกษาสนุกและสนใจที่จะเรียนรู้ อาจารย์ให้คำแนะนำที่ดีในการสอนแผน

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 12

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ครั้งที่  12 วันอังคาร 4  พฤศจิกายน 2557

เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น.


     วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอแผนการจัดประสบการณ์ของกลุ่มตนเองให้เพื่อนๆดู แล้วอาจารย์จะแนะนำการสอนของเราว่าต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตรงไหน เพื่อให้เราเข้าใจเวลาสอนเด็กจริงๆและได้พัฒนาเด็กอย่างเต็มตามศักยภาพ และส่งแผนให้อาจารย์ตรวจทานดูอีกครั้ง

กลุ่มหน่วย กบ



กลุ่มหน่วย ข้าว



กลุ่มหน่วย กล้วย




กลุ่มหน่วย ไข่



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

     นำคำแนะนำที่อาจารย์ได้เสริมเพิ่มเติมให้ตอนเราสอนนำไปใช้กับเด็กปฐมวัยได้ การให้ได้ใช้ความคิดของตนเองจากการสังเกตโดยที่คุณครูไม่ต้องบอกเด็ก

ประเมินตนเอง

     จดบันทึกตัวอย่างหรือวิธีการสอนที่อาจารย์แนะนำ ตั้งใจฟังเวลาสอน เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย

ประเมินเพื่อน

     เพื่อนๆเตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี ตั้งใจฟังและจดสิ่งที่อาจารย์ได้เพิ่มเติมให้ มีความสามัคคีกัน มีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เพื่อนกลุ่มอื่นสอนดีมาก

ประเมินอาจารย์

     อาจารย์นำแผนไปตรวจทานอีกครั้งและเขียนข้อแนะนำไว้เพื่อเราแก้ไขให้ถูกต้อง อาจารย์แนะนำเพิ่มเติมเวลาเราสอนได้เป็นอย่างดี

     

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 11

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ครั้งที่  11 วันอังคาร 28  ตุลาคม 2557

เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น.


     วันนี้อาจารย์ได้ทบทวนเรื่องที่เรียนมา จากนั้นอาจารย์ก็ทดลองวิทยาศาสตร์ต่างๆ ให้นักศึกษาได้สังเกตและตั้งคำถามว่า ทำไม อย่างไร เพื่อให้เด็กเกิดความสงสัยต้องการหาคำตอบ โดยการปฏิบัติทดลองเพื่อหาคำตอบ

กิจกรรมที่ 1 อากาศ

      



กิจกรรมที่ 2 กระดาษลอยน้ำ



กิจกรรมที่ 3 การลอยการจมของดินน้ำมัน







กิจกรรมที่ 4 การไหลของน้ำ




การนำความรู้มาประยุกต์ใช้

     การให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง แล้วสังเกตผลที่เกิดขึ้น เพื่อหาคำตอบว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น นำการทดลองที่ได้เรียนวันนี้มาประยุกต์ใช้ในเด็กปฐมวัยต่อไป

ประเมินตนเอง

     แต่งกายเรียบร้อย มีส่วนร่ามในการทำกิจกรรม หาคำตอบในสิ่งที่สงสัย

ประเมินเพื่อน

     เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือดี ถามในสิ่งที่สงสัย มีความสนุกสนานในการทำกิจกรรม

ประเมินอาจารย์

    อาจารย์มีความพร้อมในการเตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี กิจกรรมที่นำมาส่งเสริมให้นักศึกษาได้มีพื้นฐานวิทยาศาสตร์มากขึ้น