บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ครั้งที่ 2 วันอังคาร 26 สิงหาคม 2557
เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.
เนื้อหาความรู้
อาจารย์ใช้คำถามปลายเปิดถามนักศึกษาว่า " เรานึกถึงอะไรเกี่ยวกับเด็กปฐมวัย " เพื่อให้นักศึกษาได้คิดแสดงความเห็นซึ่งกันและกัน
- สิ่งที่กำลังจะเรียนรู้
- รายวิชาที่กำลังเรียนอยู่
- วิชาเอกของนักศึกษา
จากนั้นมีรูปเด็กๆทำกิจกรรมต่างๆ เด็กได้อะไรจากการเล่นกิจกรรมนี้
รูปที่ 1 การตอกไข่ คือ ฝึกการสังเกต เด็กได้สัมผัส ได้สูดดม การลงมือทำ
รูปที่ 2 การเล่นตามมุม คือ เด็กได้ทักษะด้านต่างๆ การเลียนแบบ การจดจำ
รูปที่ 3 การปลูกต้นไม้ คือ เด็กได้เรียนรู้การเจริญเติบโตของต้นไม้ การรดน้ำ พรวนดิน ใส่ปุ๋ย การดูแล
รูปที่ 4 การติดทองคำเปลว คือ เด็กได้คาดคะเน ถ้าติดไม่แน่นทองคำเปลวก็สามารถหลุดได้
เครื่องมือการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ประกอบด้วย
- คณิตศาสตร์
- ทักษะภาษา
เด็กปฐมวัย vs การเรียนรู้วิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์เป็นยาขมสำหรับเด็กๆจริงหรือ?
= ไม่จริง เพราะพัฒนาการของเด็กเกิดจากการอยากรู้อยากเห็นอยากลอง
ถ้าเด็กๆเรียนวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจะยากเกินไปไหม?
= ไม่ยากเกินไป เพราะเด็กมีความสนใจ ให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์เรื่องนั้นๆ
ควรจะให้เด็กๆอนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร?
= การทดลองทำ การลงมือปฏิบัติ
วิทยาศาสตร์
คือ ความพยายามของมนุษย์ที่เรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตัวเอง การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลง
ความพยายามเช่นนี้ติวตัวของมนุษย์มาตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากธรรมชาติของเด็กในการเรียนรู้ อยากเห็น ช่างสังเกตและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่พวกเขาเจอและบางครั้งที่เป็นคำถามที่ยากเกินกว่าผู้ใหญ่จะตอบได้
*** การเรียนรู้ เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมีทั้งทางบวกและทางลบ เพื่อเอาตัวรอดให้อยู่ในสังคม
ปัจจุบันได้
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
ควรเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ในสิ่งที่เด็กมีความสนใจ การใช้คำถามให้เด็กได้คิดต่อยอดความรู้ นำแนวการสอนของอาจารย์มาศึกษาเพิ่มเติมเพื่อใช้ในการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย
ประเมินตนเอง
- มาเรียนตรงเวลา
- แต่งกายเรียบร้อย
- จดบันทึกสรุประหว่างการเรียนการสอนของอาจาย์
- มีส่วนร่วมในการแสดงความเห็นที่อาจารย์ถามในห้องเรียน
ประเมินเพื่อน
- แต่งกายสะอาดเรียบร้อย
- ตั้งใจเรียนกันทุกคน
- มีส่วนร่วมในห้องเรียน
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
- แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
- หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส
- ตั้งใจสอนให้ความรู้อย่างเต็มที
- อธิบาย ใช้คำถามกระตุ้นความคิดกับนักศึกษา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น