วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 3

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ครั้งที่ 3 วันอังคาร 2  กันยายน 2557

เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น.


Article

- วิทยาศาสตร์และการทดลองสำหรับเด็ก

- ภาระกิจตามหาใบไม้

- การแยกเมล็ดพืช

- เจ้าลูกโป่ง



เนื้อหาความรู้



คุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 3-5 ปี ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.. 2546  มีดังนี้

เด็กอายุ  3  ปี
เด็กอายุ  4  ปี
เด็กอายุ  5  ปี
พัฒนาการด้านสติปัญญา
·        สำรวจสิ่งต่าง ๆ ที่เหมือนกันและต่างกันได้
·        บอกชื่อของตนเองได้
·        ขอความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา
·        สนทนาโต้ตอบ เล่าเรื่องด้วยประโยคสั้น ๆ ได้
·        สนใจนิทานและเรื่องราวต่าง ๆ
·        ร้องเพลง ท่องคำกลอน  คำคล้องจองง่าย ๆ และแสดงท่าทางเลียนแบบได้
·        รู้จักใช้คำถาม อะไร
·        สร้างผลงานตามความคิดของตนเองอย่างง่าย ๆ
·        อยากรู้อยากเห็นทุกอย่างรอบตัว
พัฒนาการด้านสติปัญญา
·        จำแนกสิ่งต่าง ๆ ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าได้
·        บอกชื่อและนามสกุลของตนเองได้
·        พยายามแก้ปัญหาด้วยตนเองหลังจากได้รับคำชี้แนะ
·        สนทนาโต้ตอบ เล่าเรื่องเป็นประโยคอย่างต่อเนื่อง
·        สร้างผลงานตามความคิดของตนเองโดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้น
·        รู้จักใช้คำถาม ทำไม
พัฒนาการด้านสติปัญญา
·        บอกความแตกต่างของกลิ่น สี เสียง รส รูปร่าง    จำแนกและจัดหมวดหมู่สิ่งของได้
·        บอกชื่อ  นามสกุล  และอายุของตนเองได้
·        พยายามหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง
·        สนทนาโต้ตอบ เล่าเป็นเรื่องราวได้
·        สร้างผลงานตามความคิดของตนเองโดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้นและแปลกใหม่
·        รู้จักใช้คำถาม ทำไม”      “อย่างไร
·        เริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม
·        นับสิ่งต่าง ๆ จำนวนมากกว่า  10  ได้





ธรรมชาติของเด็กปฐมวัยอายุ 3 - 5 ปี






หลักการ/แนวคิดสู่การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก


กีเซล (Gesell) เชื่อว่า

  •  พัฒนาการของเด็กเป็นไปอย่างมีแบบแผนและเป็นขั้นตอน เด็กควรพัฒนาไปตามธรรมชาติไม่ควรเร่งหรือบังคับ
  •  การเรียนรู้ของเด็กเกิดขึ้นจากการ การเคลื่อนไหว การใช้ภาษา การปรับตัวเข้าสังคมกับบุคคลรอบข้าง

การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก



 จัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
 ให้เด็กได้เล่นกลางแจ้ง
 จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ ฝึกการใช้มือและ ประสาทสัมพันธ์มือกับตา
 จัดกิจกรรมให้เด็กได้ฟัง ได้พูดท่องคำคล้องจอง ร้องเพลง ฟังนิทาน
 จัดให้เด็กทำกิจกรรมเดี่ยวและกิจกรรมกลุ่ม


ฟรอยด์ (Freud) เชื่อว่า


    ประสบการณ์ในวัยเด็กส่งผลต่อบุคลิกภาพ ของคนเราเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ หากเด็กไม่ได้รับการตอบสนองอย่างเพียงพอ จะเกิดอาการชะงัก พฤติกรรมถดถอย คับข้องใจส่งผลต่อพัฒนาการของเด็ก


การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก



•  ครูเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งการแสดงออก ท่าทีวาจา
  จัดกิจกรรมเป็นขั้นตอน จากจ่ายไปหายาก
• จัดสิ่งแวดล้อมที่บ้านและโรงเรียนเพื่อส่งเสริมพัฒนาบุคลิกภาพของเด็ก


อีริคสัน (Erikson) เชื่อว่า

• ถ้าเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เด็กพอใจ ประสบผลสำเร็จ เด็กจะมองโลกในแง่ดี มีความเชื่อมั่นและไว้วางใจผู้อื่น
• ถ้าเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี ไม่พอใจจะมองโลกในแง่ร้าย ขาดความเชื่อมั่นในตนเองและไม่ไว้วางใจผู้อื่น

การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก

•  จัดกิจกรรมให้เด็กได้ประสบผลสำเร็จ พึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมของห้องเรียน เพื่อนครู
•  จัดบรรยากาศในห้องเรียน ให้เด็กมีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อสภาพแวดล้อม ครูและเพื่อน ๆ


เพียเจท์ (Piaget) เชื่อว่า

• พัฒนาการทางด้านเชาว์ปัญญาของเด็กเกิดจากการที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมรอบ ๆ ตัวเด็ก มีการรับรู้จากสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา และมีการปรับขยายประสบการณ์เดิม ความคิดและความเข้าใจให้ขยายมากขึ้น
• พัฒนาการของเด็กปฐมวัย (0 – 6 ปี)

1ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหววัย 0 – 2 ปี เด็กเรียนรู้ทุกอย่างทางประสาทสัมผัสทุกด้าน
2. ขั้นความคิดก่อนปฏิบัติการวัย 2 – 6 ปี เริ่มเรียนภาษาพูดและภาษาท่าทางในการสื่อสารยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง คิดหาเหตุผลไม่ได้จัดหมวดหมู่ได้ตามเกณฑ์ของตนเอง

การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก


• จัดกิจกรรมให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัส ทั้ง 5
  จัดให้เด็กฝึกฝนทักษะ การสังเกต การจำแนก เปรียบเทียบ
• จัดกิจกรรมให้เด็กมีโอกาสคิดหาเหตุผลเลือก และตัดสินใจสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง
• จัดให้เด็กได้เรียนรู้จากสิ่งใกล้ตัวไปสู่เรื่องไกลตัว และมีลักษณะที่เป็นรูปธรรม


   
ดิวอี้ (Dewey) เชื่อว่า  เด็กเรียนรู้โดยการกระทำ

การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก

• จัดกิจกรรมให้เด็กได้ประสบผลสำเร็จพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมของห้องเรียนเพื่อน ครู
• จัดบรรยากาศในห้องเรียน ให้เด็กมีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อสภาพแวดล้อม ครูและเพื่อน ๆ


สกินเนอร์  (Skinner) เชื่อว่า

• ถ้าเด็กได้รับการชมเชย และประสบผลสำเร็จในการทำกิจกรรม เด็กสนใจที่ทำต่อไป
• เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ไม่มีใครเหมือนใคร


การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก

• ให้แรงเสริม เช่น ชมเชย ชื่นชม เมื่อเด็กทำกิจกรรมประสบผลสำเร็จ
 ไม่นำเด็กมาเปรียบเทียบแข่งขันกัน



เปสตาลอสซี่ (Pestalozzi) เชื่อว่า

• ความรักเป็นพื้นฐานสำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาเด็ก ทั้งด้านร่างกายและสติปัญญา
• เด็กแต่ละคนแตกต่างกัน ทั้งด้านความสนใจความต้องการ และระดับความสามารถในการเรียน
• เด็กไม่ควรถูกบังคับให้เรียนรู้ด้วยการท่องจำ

การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก

  จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อม ให้ความรักให้เวลา และให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์


เฟรอเบล (Froeble) เชื่อว่า

• ควรส่งเสริมพัฒนาการตามธรรมชาติของเด็กด้วยการกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์อย่างเสรี
• การเล่นเป็นการทำงานและการเรียนรู้ของเด็ก

การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
  
   จัดกิจกรรมเรียนรู้ผ่านการเล่นอย่างเสรี


การนำไปประยุกต์ใช้

    การนำทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับธรรมชาติของเด็กและเหมาะสมกับพัฒนาการช่วงวัยของเด็กนั้นๆ เพื่อให้เด็กมีการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพในการเรียนรู้ต่างๆ



ประเมินตนเอง

    แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มาเรียนตรงต่อเวลา จดบันทึกเนื้อหาที่สำคัญ ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและให้ความร่วมมือให้การตอบคำถาม



ประเมินเพื่อน

    วันนี้เพื่อนๆแต่งกายเรียบร้อยถูกระเบียบ ตั้งใจฟังอาจารย์และมีส่วนร่วมในการตอบคำถามระหว่างเรียน


ประเมินอาจารย์ผู้สอน

    อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส เวลาอาจารย์สอนอาจารย์จะยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้คิดเห็นภาพต่อยอดความคิดได้ อาจารย์ใช้คำถามกระตุ้นความคิดของนักศึกษา





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น