วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 13

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ครั้งที่  13 วันอังคาร 11  พฤศจิกายน 2557

เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น.


     วันนี้เราเรียน 2 กิจกรรม กิจกรรมช่วงแรกเป็นการนำเสนอแผนการจัดประสบการณ์ต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้วให้ครบหมดทุกกลุ่ม กิจกรรมช่วงท้ายเป็นการทำไข่ทาโกยากิ

กิจกรรมที่ 1

กลุ่มหน่วย สับปะรด กลุ่มนี้สอนเรื่องประโยชน์ การทำน้ำสับปะรด




กลุ่มหน่วย ส้ม กลุ่มนี้สอนเรื่องชนิดของส้ม เสริมด้วยการนับจำนวนของส้ม



กลุ่มหน่วย ทุเรียน กลุ่มนี้สอนเรื่องลักษณะของทุเรียน




กลุ่มหน่วย น้ำ กลุ่มนี้อาจารย์ให้สอนเกี่ยวกับการทดลอง



กลุ่มหน่วย ดิน กลุ่มนี้สอนเรื่องชนิดของดิน



กลุ่มหน่วย มด กลุ่มของดิฉันสอนเรื่องลักษณะของมด มดมีลักษณะที่แตกต่างกัน



กิจกรรมที่ 2

     กิจกรรมการทำไข่ทาโกยากิ จากกลุ่มหน่วยไข่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

มี 5 ขั้นตอนการทำ ดังนี้

1. การตัดกระดาษรองอาหาร

2. หั่นผักและปูอัด        


3. ตอกไข่แล้วตีไข่ให้เข้ากัน

4. ใส่เครื่องปรุงและส่วนผสมอื่นๆ

 

5. ทาเนยลงในกระทะแล้วใส่ไข่ที่ปรุงไว้ทอดให้สุก



** อาจารย์ให้กลุ่มหน่วยสับปะรดและกลุ่มหน่วยดิน นำเสนอแผนการจัดประสบการณ์ใหม่ในสัปดาห์หน้า

การนำความรู้มาประยุกต์ใช้

     การให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมโดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 การนำเทคนิคการสอนต่างๆของอาจารย์มาใช้ในการสอนเด็กปฐมวัยได้ นำคำแนะนำที่อาจารย์เพิ่มเติมในแต่ละกลุ่มมาปรับปรุงในการสอนครั้งต่อไป

ประเมินตนเอง

     วันนี้เตรียมความพร้อมในการสอนมาเป็นอย่างดี อาจจะสอนไม่ค่อยถูกตามแผนเท่าไร เมื่ออาจารย์แนะนำก็สอนได้ดีขึ้น มีส่วนร่วมในกิจกรรม

ประเมินเพื่อน

     เพื่อนๆมีส่วนร่วมในการสอนแผนและมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมไข่ ตั้งใจฟังเพื่อนๆสอน แสดงความคิดเห็นและตอบคำถาม

ประเมินอาจารย์

     อาจารย์มีกิจกรรมใหม่ที่สนใจมาสอนนักศึกษาอยู่เสมอทำให้นักศึกษาสนุกและสนใจที่จะเรียนรู้ อาจารย์ให้คำแนะนำที่ดีในการสอนแผน

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 12

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ครั้งที่  12 วันอังคาร 4  พฤศจิกายน 2557

เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น.


     วันนี้อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอแผนการจัดประสบการณ์ของกลุ่มตนเองให้เพื่อนๆดู แล้วอาจารย์จะแนะนำการสอนของเราว่าต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตรงไหน เพื่อให้เราเข้าใจเวลาสอนเด็กจริงๆและได้พัฒนาเด็กอย่างเต็มตามศักยภาพ และส่งแผนให้อาจารย์ตรวจทานดูอีกครั้ง

กลุ่มหน่วย กบ



กลุ่มหน่วย ข้าว



กลุ่มหน่วย กล้วย




กลุ่มหน่วย ไข่



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

     นำคำแนะนำที่อาจารย์ได้เสริมเพิ่มเติมให้ตอนเราสอนนำไปใช้กับเด็กปฐมวัยได้ การให้ได้ใช้ความคิดของตนเองจากการสังเกตโดยที่คุณครูไม่ต้องบอกเด็ก

ประเมินตนเอง

     จดบันทึกตัวอย่างหรือวิธีการสอนที่อาจารย์แนะนำ ตั้งใจฟังเวลาสอน เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย

ประเมินเพื่อน

     เพื่อนๆเตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี ตั้งใจฟังและจดสิ่งที่อาจารย์ได้เพิ่มเติมให้ มีความสามัคคีกัน มีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เพื่อนกลุ่มอื่นสอนดีมาก

ประเมินอาจารย์

     อาจารย์นำแผนไปตรวจทานอีกครั้งและเขียนข้อแนะนำไว้เพื่อเราแก้ไขให้ถูกต้อง อาจารย์แนะนำเพิ่มเติมเวลาเราสอนได้เป็นอย่างดี

     

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 11

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ครั้งที่  11 วันอังคาร 28  ตุลาคม 2557

เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น.


     วันนี้อาจารย์ได้ทบทวนเรื่องที่เรียนมา จากนั้นอาจารย์ก็ทดลองวิทยาศาสตร์ต่างๆ ให้นักศึกษาได้สังเกตและตั้งคำถามว่า ทำไม อย่างไร เพื่อให้เด็กเกิดความสงสัยต้องการหาคำตอบ โดยการปฏิบัติทดลองเพื่อหาคำตอบ

กิจกรรมที่ 1 อากาศ

      



กิจกรรมที่ 2 กระดาษลอยน้ำ



กิจกรรมที่ 3 การลอยการจมของดินน้ำมัน







กิจกรรมที่ 4 การไหลของน้ำ




การนำความรู้มาประยุกต์ใช้

     การให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง แล้วสังเกตผลที่เกิดขึ้น เพื่อหาคำตอบว่าทำไมถึงเป็นเช่นนั้น นำการทดลองที่ได้เรียนวันนี้มาประยุกต์ใช้ในเด็กปฐมวัยต่อไป

ประเมินตนเอง

     แต่งกายเรียบร้อย มีส่วนร่ามในการทำกิจกรรม หาคำตอบในสิ่งที่สงสัย

ประเมินเพื่อน

     เพื่อนๆทุกคนให้ความร่วมมือดี ถามในสิ่งที่สงสัย มีความสนุกสนานในการทำกิจกรรม

ประเมินอาจารย์

    อาจารย์มีความพร้อมในการเตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี กิจกรรมที่นำมาส่งเสริมให้นักศึกษาได้มีพื้นฐานวิทยาศาสตร์มากขึ้น


วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึการเรียน ครั้งที่ 10

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ครั้งที่  10 วันอังคาร 21  ตุลาคม 2557

เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น.


เนื้อหาความรู้

     วันนี้ให้นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ต่อจากอาทิตย์ที่แล้วที่เพื่อนๆบางคนยังไม่ได้นำเสนอไป เมื่อนำเสนอครบแล้วอาจารย์ให้จัดโต๊ะเป็นกลุ่มๆ ตามกลุ่มที่ทำแผนด้วยกัน จากนั้นอาจารย์ก็สอนการเขียนแผนจัดประสบการณ์ โดยอธิบายเริ่มจากการเขียนวัตถุประสงค์ สาระที่ควรเรียนรู้ แนวคิด ประสบการณ์สำคัญ กรอบพัฒนาการ บูรณาการทักษะรายวิชา เป็นต้น

     กลุ่มของดิฉันจะสอนเรื่องหน่วย มด (Ant)

โดยแบ่งการเขียนแผนเป็น 5 วันต่อ 1 สัปดาห์ ดังนี้




การนำมาประยุกต์ใช้

     การเขียนแผนที่ถูกต้องต้องเขียนอย่างไร การจัดประสบการณ์ให้เด็กแต่ละวันต้องเรียนรู้เป็นขั้นเป็นตอนไปเรื่อยโดยเริ่มจากชนิดของสิ่งที่เราต้องการสอนเด็กก่อน และการจัดแต่ละครั้งต้องคำนึงถึงพัฒนาการแต่ละช่วงวัยของเด็ก

ประเมินตนเอง

     เข้าเรียนตรงเวลา หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส ตั้งใจฟังและจดบันทึกสิ่งที่เป็นเนื้อหาสำคัญ  

ประเมินเพื่อน

     เพื่อนนำเสนองานได้ดี มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม ตั้งใจฟังอาจารย์

ประเมินอาจารย์

     อาจารย์แต่งกายสุภาพ เรียบร้อย อธิบายเนื้อหาให้นักศึกษาได้เข้าใจในเรื่องการเขียนแผนมากขึ้น



วันเสาร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 9

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ครั้งที่  9 วันอังคาร 14  ตุลาคม 2557

เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น.


เนื้อหาความรู้

     วันนี้อาจารย์ให้นำเสนอของเล่นวิทยาศาสตร์ของแต่ละคนที่ได้เตรียมมาตามเลขที่


ผลงานของดิฉัน "นักดำน้ำจากหลอดกาแฟ"



อุปกรณ์
1.หลอดกาแฟ
2.ดินน้ำมัน
3.ขวดน้ำพลาสติกที่มีฝาปิด
4.กรรไกร

ขั้นตอนการทำ
1.นำหลอดกาแฟสั้นประมาณ 4 นิ้ว
2.มาพับไม่ต้องแบ่งครึ่งแล้วติดเทปกาว
3.นำกรรไกรมาตัดหลอดกาแฟที่ยาวกว่าเป็น 2 แฉก แฉกหนึ่งให้พับขึ้นไป อีกแฉกให้ใช้ดินน้ำมันถ่วงไว้
4.นำขวดพลาสติกใส่น้ำให้เต็มแล้วนำนักดำน้ำที่ทำไว้มาใส่ลงไปในขวดแล้วปิดฝาให้แน่น

ทำการทดลอง
-บีบขวดน้ำ/ปล่อยขวดน้ำ แล้วสังเกตผลการทดลอง


การจัดการเรียนรู้ให้กับเด็กปฐมวัย

ผลการทดลอง
    เมื่อเราใช้มือบีบขวดน้ำนักดำน้ำจะจมลงแต่เมื่อเราปล่อยมือนักดำน้ำก็จะลอยขึ้น


สาเหตุจากผลการทดลอง
    ในหลอดจะมีอากาศอยู่ แล้วเมื่อเราบีบขวดน้ำก็จะทำให้แรงดันที่เกิดขึ้นส่งผ่านไปทั่วขวดไปดันอากาศที่มีอยู่ในหลอดให้มีปริมาณลดลง จะทำให้ความหนาแน่นของนักดำน้ำเพิ่มมากขึ้นกว่าน้ำในขวด นักดำน้ำจึงจมลง เมื่อปล่อยมือนักดำน้ำก็จะขยายตัวกลับสู่สภาพดั่งเดิม


ผลงานของเพื่อนๆในห้องเรียน


การนำไปประยุกต์ใช้

     สื่อที่เพื่อนๆทุกคนนำเสนอสามารถนำมาใช้ในการสอนสำหรับเด็กปฐมวัยให้เกิดการเรียนรู้ได้ทุกชิ้น  บางชิ้นสามารถนำมาปรับเปลี่ยนให้มีความปลอดภัยและหาได้ง่ายขึ้นราคาถูกลง

ประเมินตนเอง

     มีความตั้งใจและเตรียมความพร้อมในการนำเสนอมาอย่างดี จดบันทึกผลงานที่เพื่อนๆนำมาเสนอ

ประเมินเพื่อน

     เพื่อนๆนำเสนอได้ดีทุกคน แต่มีส่วนน้อยที่ไม่ได้นำมาเราจึงตกลงกันให้นำมาเสนอในอาทิตย์ต่อไป

ประเมินอาจารย์

     อาจารย์ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับผลงานที่นักศึกษานำมาว่าควรปรับปรุงตรงไหนเพื่อให้ใช้กับเด็กปฐมวัยได้และมีความประหยัดลง


บันทึกการเรียน ครั้งที่ 8

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ครั้งที่  8 วันอังคาร 7  ตุลาคม 2557

เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น.



วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเป็นช่วงสอบกลางภาค 





บันทึกการเรียน ครั้งที่ 7

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ครั้งที่ 7 วันอังคาร 30  กันยายน 2557

เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น.


Article

1.  สกิตให้ลูกคิดแบบวิทยาศาสตร์

2.   สนุกสนานเรียนรู้ได้ทุกวิชา "ตามเด็กปฐมวัยเรียนรู้เรื่องไก่และเป็ด"

3.   เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์ให้สนุก  7  ประการ

   



เนื้อหาความรู้

     วันนี้อาจารย์มีกิจกรรมในห้องเรียน 2 กิจกรรมให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติ

กิจกรรมที่1 กังหันลมจากกระดาษ

 ขั้นตอนการทำ

 





 ***    จากกิจกรรมที่ได้ปฏิบัติมาทำให้เกิดการเรียนรู้ที่แตกต่างกันออกไปเมื่อนำไปทดลองเนื่องจาก
- การตัดใบพัดที่ไม่เท่ากัน
- การพับที่ไม่เท่ากัน
- น้ำหนักในการโยน


กิจกรรมที่2 ของเล่นจากแกนทิชชู

  ขั้นตอนการทำ




***   จากกิจกรรมที่ได้ลงมือปฏิบัติแกนทิชชูเกิดการเคลื่อนที่เมื่อเราขยับเชือกเพราะเกิดการเสียดสีระหว่างเชือกกับวัตถุ

การนำมาประยุกต์ใช้

     เราสามารถนำกิจกรรมมาจัดสำหรับเด็กปฐมวัยได้ ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง

ประเมินตนเอง

     เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์และลงมือปฏิบัติกิจกรรมอย่างเต็มที่ จดบันทึกระหว่างการเรียน

ประเมินเพื่อน

     แต่งกายเป็นระเบียบ ให้ความร่วมมือดีระหว่างการเรียน ตั้งใจเรียนอาจจะมีคุยกันบ้าง

ประเมินอาจารย์

     กิจกรรมที่อาจารย์นำมาสอนนักศึกษาให้ความสนใจอยากที่จะเรียนรู้ที่จะทดลอง ทำให้เด็กสนใจที่จะเรียน อาจารย์เตรียมความพร้อมในการสอนมาดีมาก


วันพุธที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ครั้งที่ 6 วันอังคาร 23  กันยายน 2557

เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น.


Article

1. สอนลูกเรื่องพืช
2. เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทาน
3. แนวทางสอนคิดวิทย์ให้เด็กอนุบาล
4. การทดลองวิทยาศาสตร์สนุกๆ สำหรับคุณหนูๆ

เนื้อหาความรู้

     วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาเรียนรู้ผ่านการลงมือการกระทำปฏิบัติด้วยตนเอง และอาจารย์อธิบายเรื่องการสรุปความลับของแสง และทำกิจกรรมในห้องเรียน


กิจกรรมแรก

1.พับกระดาษแบ่งครึ่ง
2.วาดภาพที่มีความสัมพันธ์
3.ตกแต่งให้สวยงาม
4.จากนั้นก็ติดไม้ลูกชิ้นไว้ตรงกลางด้านใน
5.ติดเทปกาวด้านข้างประกบกัน


ผลงานของดิฉัน



   จากกิจกรรมที่ได้ลงมือปฏิบัติกิจกรรมนี้สามารถทำได้ไม่ยาก เป็นวัสดุเหลือใช้ทั้งนั้น เป็นการใช้ประโยชน์ของสิ่งของต่างๆที่ไม่ใช้แล้วอย่างคุ้มค่า


ความรู้เพิ่มเติม

     หลักการเรียนการสอนตามทฤษฎี Constructionism เป็นการเรียนการสอนที่ผู้เรียนเรียนรู้จากการสร้างงาน ผู้เรียนได้ดำเนินกิจกรรมการเรียนด้วยตนเองโดยการลงมือปฏิบัติหรือสร้างงานที่ตนเองสนใจ ในขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสให้สัมผัสและแลกเปลี่ยนความรู้กับสมาชิกในกลุ่ม ผู้เรียนจะสร้างองค์ความรู้ขึ้นด้วยตนเองจากการปฎิบัติงานที่มีความหมายต่อตนเอง ครูผู้สอนจะต้องสร้างให้เกิดองค์ประกอบครบทั้ง 3 ประการ คือ 1) ให้ผู้เรียนได้ลงมือประกอบกิจกรรมด้วยตนเอง (ได้สร้างงาน) ตามความสนใจ ตามความชอบหรือความถนัด ของแต่ละบุคคล 2) ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ภายใต้บรรยากาศและสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ที่ดี 3) มีเครื่องมืออุปกรณ์ในการประกอบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม

การนำมาประยุกต์ใช้

     การนำทฤษฎี Constructionism มาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนปกตินั้น ครูสามารถประยุกต์ใช้ได้ง่ายในวิชาที่มีการปฏิบัติหรือวิชาที่ต้องการฝึกทักษะ โดยแยกแยะได้ 3 ลักษณะ คือ
  • ประยุกต์ใช้บางส่วน กล่าวคือ นำทฤษฎี Constructionism มาประยุกต์ใช้เป็นครั้งคราว โดยเลือกให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และเนื้อหา
  • ประยุกต์ใช้ในชั่วโมงปฏิบัติเต็มเวลา กล่าวคือ นำทฤษฎี Constructionism มาประยุกต์ใช้ในชั่วโมงปฏิบัติทั้งหมดของวิชานั้น โดยครูให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติและเชื่อมโยงความรู้ให้สัมพันธ์กับทฤษฎีที่เรียน
  • ประยุกต์ใช้ทั้งวิชา กล่าวคือ นำทฤษฎี Constructionism มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนทั้งวิชา ซึ่งนับว่าเป็นวิธีที่ดีหากปฏิบัติได้จริง เพราะการเปลี่ยนแปลงความคิดและทัศนคติของผู้เรียนนั้นจะต้องอาศัยระยะเวลานานพอสมควรและจะต้องทำอย่างต่อเนื่องจึงจะเห็นผล

ประเมินตนเอง

     เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจลงมือปฏิบัติ แต่งกายเรียบร้อย จดบันทึกระหว่างการเรียน

ประเมินเพื่อน

     เพื่อนๆแต่งกายเป็นระเบียบ ตั้งใจทำกิจกรรมกันอย่างเต็มที่ ในห้องมีความสนุกสนาน

ประเมินอาจารย์

     อาจารย์เตรียมการสอนมาเต็มที่ การให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติเรียนรู้ด้วยตนเองทำให้เข้าใจมากขึ้น ทำให้ห้องมีความสนุกสนานไม่ตึงเครียด




บันทึกการเรียน ครั้งที่ 5

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ครั้งที่ 5 วันอังคาร 16  กันยายน 2557

เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น.


Article


 1.การสอนเรื่องปรากฎการณ์ธรรมมีความสำคัญอย่างไร ?
 2.วิทยาศาสตร์กับเด็กปฐมวัย


เนื้อหาความรู้

     ช่วงแรกอาจารย์เริ่มต้นด้วยการเปิดเพลงให้นักศึกษาฟัง ผลที่เกิดขึ้นคือนักศึกษาคุยกันเสียงดัง ฟังเพลงไม่รู้เรื่อง เพลงเสียงเบาเพราะได้ยินแต่เสียงเพื่อนคุยกัน เกิดความวุ่นวาย จากนั้นอาจารย์ก็ออกมาเตือนสติเพื่อนๆว่า การที่เราจะรับรู้สิ่งต่างๆได้ดีนั้น ควรใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของเรา
     หลังจากนั้นอาจารย์สั่งงานให้นักศึกษาไปดูเรื่องความลับของแสงแล้วสรุปลงในบล็อกเนื่องจากอาจารย์ติดธุระสำคัญ


ความลับของแสง (The Secret of Light)





การนำไปประยุกต์ใช้
     
     การศึกษาข้อมูลอื่นๆเพิ่มเติมจากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ หมายที่อาจารย์ให้เราไปศึกษาดูจากวิดีโอ แล้วนำความรู้ที่ได้ดูมาทำใส่ลงบล็อกเพื่อแชร์ความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาเรื่องนั้น

ประเมินตนเอง

     ตอนแรกก็คุยกับเพื่อนบ้าง หลังจากที่อาจารย์ได้เตือนก็ตั้งใจฟังมากขึ้น เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย

ประเมินเพื่อน

     เพื่อนๆมาถึงก็คุยกันเสียงดัง ต่างคนต่างคุย หลังจากนั้นก็เงียบลงและฟังอาจารย์มากขึ้น

ประเมินอาจารย์

     เตรียมการสอนมาเป็นอย่างดี นำสู่การเรียนโดยการเปิดเพลงให้นักศึกษา มีการหาข้อมูลจากแหล่งอื่นมาให้นักศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น