วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 4

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ครั้งที่ 4 วันอังคาร 9  กันยายน 2557

เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น.


Article

- กิจกรรมสนุกคิดกับของเล่นวิทยาศาสตร์

- ทำอย่างไรให้ลูกสนใจวิทยาศาสตร์

- วิทย์-คณิตศาสตร์ สำคัญอย่างไรกับอนาคตของชาติ

- เมื่อลูกน้อยเรียนรู้วิทย์-คณิตศาสตร์ จากเสียงดนตรีบูรณาการทางวิทยาศาสตร์

- การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กเด็กปฐมวัย


เนื้อหาความรู้

           วันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับทักษะวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย และอธิบายการนำเสนอบทความโดยการสรุปเนื้อหาแล้วออกมาพูดหน้าชั้น ไม่ใช่เป็นการอ่านทุกตัวอักษรโดยไม่สรุปเนื้อหา


ความหมายของวิทยาศาสตร์

      วิทยาศาสตร์ หมายถึง การศึกษาสืบค้นและจัดระบบความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติโดยอาศัยกระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ประกอบด้วย วิธีการทักษะกระบวนการและเจตคติทางวิทยาศาสตร์อย่างมีระบบแบบแผน มีขอบเขตโดยอาศัยการสังเกต การทดลองเพื่อค้นหาโดยทั่วไป



ความรู้ที่ได้รับออกมาเป็น Mind Mapping ดังนี้



ความรู้เพิ่มเติมจากที่อาจารย์ถามในห้องเรียน
  
  * บิดาแห่งวิทยาศาสตร์

      กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei) เกิด ณ เมืองปิซา ประเทศอิตาลี ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2107 (ค.ศ. 1564) – เสียชีวิต ณ เมืองอาร์เซทิ (Arcetri) ฟลอเรนซ์ ในวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2185 (ค.ศ. 1642) มีบิดาชื่อ วินเซนซิโอ กาลิเลอิ ซึ่งมีอาชีพเป็นนักดนตรี และมีมารดาชื่อ จูเลีย กาลิเลอิ กาลิเลโอ เป็นนักวิทยาศาสตร์ และยัง ถูกขนานนามในชื่อต่างๆ เช่น "father of modern astronomy" (บิดาแห่งวิชาดาราศาสตร์สมัยใหม่), "father of modern physics" (บิดาแห่งวิชาฟิสิกส์สมัยใหม่) หรือ "father of science" (บิดาแห่งวิทยาศาสตร์) เป็นผู้ค้นพบ ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์มากมาย เช่น "กฏแห่งการแกว่งของลูกตุ้ม" และ "กฏการตกของวัตถุ"
ภาพของกาลิเลโอ กาลิเลอี
กาลิเลโอ กาลิเลอี

          เหตุที่กาลิเลโอได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ เพราะเขาและโยฮันส์ เคปเลอร์ เป็นผู้ที่ก่อให้เกิด การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ (Scientific revolution) ขึ้น จริงอยู่ที่ในประวัติศาสตร์อันยาวนานของมนุษยชาติ เราเรียนรู้ที่จะสร้างอารยธรรมขึ้นมา จากการค้นคว้า ทดลอง และจดบันทึกองค์ความรู้สืบทอดต่อๆกันมา จากรุ่นสู่รุ่นตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ หากพิจารณาจริงๆกระบวนการดังกล่าวก็มีขั้นตอนครบถ้วนตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่สอดคล้องกับในแบบเรียนทุกประการ แล้วจะนับกาลิเลโอจะเป็นบิดาของวิทยาศาสตร์ ได้อย่างไร ในเมื่อเขาคงก็ไม่ได้เป็นคนแรกแน่ๆที่เริ่มใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในโลกใบนี้ ประเด็นอันละเอียดอ่อนนี้คงจะเป็นประเด็นเปิดให้ถกเถียง กันอีกยาว แต่หากเรามองอีกแง่มุมหนึ่งของประวัติศาสตร์ที่ชัดเจนกว่า คือจากมุมของการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ โดยนับการตีพิมพ์หนังสือPhilosophiae Naturalis Principia Mathematica ของนิวตันเป็นการสิ้นสุดการปฏิวัติ กาลิเลโอก็นับว่าเป็นบิดาของวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง เพราะงานในยุคนั้นหลายๆชิ้นที่มีส่วนสำคัญต่อ การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ มีเพียงงานของกาลิเลโอเพียงคนเดียวที่โดดเด่นที่สุดในแง่ของการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

   * เด็กเปรียบเสมือนผ้าขาว

      ฌอง ฌาค รุสโซ (Jean Jacque Rousseau) ได้กล่าวไว้ว่า เด็กเปรียบเสมือนผ้าขาว ซึ่งหมายถึงว่า เด็กทุกคนนั้นเกิดมาพร้อมกับความดี ซึ่งเด็กจะเติบโตเป็นอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับผู้ใหญ่ที่ทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดี รวมทั้งสภาพแวดล้อมและประสบการณ์ต่าง ๆ ที่เด็กพึงจะได้รับ ไม่เพียงเป็นการพัฒนาทางด้านสติปัญญา ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์เท่านั้น แต่ยังต้องได้รับการปลูกฝังด้านคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งเป็นเครื่องหมายของบุคคลที่มีความดีงามในจิตใจอีกด้วย ดังนั้นในการอบรมเลี้ยงดูเด็ก จึงควรปลูกฝังให้เด็ก ให้เป็นบุคคลที่มีรากฐานด้านคุณความดีของชีวิต เพื่อให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดี เป็นเยาวชนที่มีจิตสำนึกในการสร้างและทำความดีให้แก่สังคมต่อไป

การนำไปประยุกต์ใช้

     นำความรู้เกี่ยวกับทักษะวิทยาศาสตร์ไปพัฒนาเด็กปฐมวัยและนำไปต่อยอดความรู้จากที่ตัวเองมีอยู่ให้พัฒนามากยิ่งขึ้น

ประเมินตนเอง

    วันนี้ตั้งใจฟังอาจารย์เป็นอย่างดี และจดบันทึกเนื้อหาสาระในการเรียนครั้งนี้ การแต่งกายเรียบร้อยเป็นระเบียบ

ประเมินเพื่อน

    วันนี้นักศึกษาทุกคนแต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจาย์และเพื่อนๆที่นำเสนอบทความ ให้ความร่วมมือในการตอบคำถาม

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

    วันนี้อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย หน้าตายิ้มแย้ม ใช้คำถามเพื่อให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นและต่อยอดความคิดให้นักศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้น

วันเสาร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 3

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ครั้งที่ 3 วันอังคาร 2  กันยายน 2557

เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น.


Article

- วิทยาศาสตร์และการทดลองสำหรับเด็ก

- ภาระกิจตามหาใบไม้

- การแยกเมล็ดพืช

- เจ้าลูกโป่ง



เนื้อหาความรู้



คุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 3-5 ปี ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.. 2546  มีดังนี้

เด็กอายุ  3  ปี
เด็กอายุ  4  ปี
เด็กอายุ  5  ปี
พัฒนาการด้านสติปัญญา
·        สำรวจสิ่งต่าง ๆ ที่เหมือนกันและต่างกันได้
·        บอกชื่อของตนเองได้
·        ขอความช่วยเหลือเมื่อมีปัญหา
·        สนทนาโต้ตอบ เล่าเรื่องด้วยประโยคสั้น ๆ ได้
·        สนใจนิทานและเรื่องราวต่าง ๆ
·        ร้องเพลง ท่องคำกลอน  คำคล้องจองง่าย ๆ และแสดงท่าทางเลียนแบบได้
·        รู้จักใช้คำถาม อะไร
·        สร้างผลงานตามความคิดของตนเองอย่างง่าย ๆ
·        อยากรู้อยากเห็นทุกอย่างรอบตัว
พัฒนาการด้านสติปัญญา
·        จำแนกสิ่งต่าง ๆ ด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้าได้
·        บอกชื่อและนามสกุลของตนเองได้
·        พยายามแก้ปัญหาด้วยตนเองหลังจากได้รับคำชี้แนะ
·        สนทนาโต้ตอบ เล่าเรื่องเป็นประโยคอย่างต่อเนื่อง
·        สร้างผลงานตามความคิดของตนเองโดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้น
·        รู้จักใช้คำถาม ทำไม
พัฒนาการด้านสติปัญญา
·        บอกความแตกต่างของกลิ่น สี เสียง รส รูปร่าง    จำแนกและจัดหมวดหมู่สิ่งของได้
·        บอกชื่อ  นามสกุล  และอายุของตนเองได้
·        พยายามหาวิธีแก้ปัญหาด้วยตนเอง
·        สนทนาโต้ตอบ เล่าเป็นเรื่องราวได้
·        สร้างผลงานตามความคิดของตนเองโดยมีรายละเอียดเพิ่มขึ้นและแปลกใหม่
·        รู้จักใช้คำถาม ทำไม”      “อย่างไร
·        เริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม
·        นับสิ่งต่าง ๆ จำนวนมากกว่า  10  ได้





ธรรมชาติของเด็กปฐมวัยอายุ 3 - 5 ปี






หลักการ/แนวคิดสู่การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก


กีเซล (Gesell) เชื่อว่า

  •  พัฒนาการของเด็กเป็นไปอย่างมีแบบแผนและเป็นขั้นตอน เด็กควรพัฒนาไปตามธรรมชาติไม่ควรเร่งหรือบังคับ
  •  การเรียนรู้ของเด็กเกิดขึ้นจากการ การเคลื่อนไหว การใช้ภาษา การปรับตัวเข้าสังคมกับบุคคลรอบข้าง

การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก



 จัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
 ให้เด็กได้เล่นกลางแจ้ง
 จัดกิจกรรมสร้างสรรค์ ฝึกการใช้มือและ ประสาทสัมพันธ์มือกับตา
 จัดกิจกรรมให้เด็กได้ฟัง ได้พูดท่องคำคล้องจอง ร้องเพลง ฟังนิทาน
 จัดให้เด็กทำกิจกรรมเดี่ยวและกิจกรรมกลุ่ม


ฟรอยด์ (Freud) เชื่อว่า


    ประสบการณ์ในวัยเด็กส่งผลต่อบุคลิกภาพ ของคนเราเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ หากเด็กไม่ได้รับการตอบสนองอย่างเพียงพอ จะเกิดอาการชะงัก พฤติกรรมถดถอย คับข้องใจส่งผลต่อพัฒนาการของเด็ก


การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก



•  ครูเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งการแสดงออก ท่าทีวาจา
  จัดกิจกรรมเป็นขั้นตอน จากจ่ายไปหายาก
• จัดสิ่งแวดล้อมที่บ้านและโรงเรียนเพื่อส่งเสริมพัฒนาบุคลิกภาพของเด็ก


อีริคสัน (Erikson) เชื่อว่า

• ถ้าเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เด็กพอใจ ประสบผลสำเร็จ เด็กจะมองโลกในแง่ดี มีความเชื่อมั่นและไว้วางใจผู้อื่น
• ถ้าเด็กอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี ไม่พอใจจะมองโลกในแง่ร้าย ขาดความเชื่อมั่นในตนเองและไม่ไว้วางใจผู้อื่น

การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก

•  จัดกิจกรรมให้เด็กได้ประสบผลสำเร็จ พึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมของห้องเรียน เพื่อนครู
•  จัดบรรยากาศในห้องเรียน ให้เด็กมีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อสภาพแวดล้อม ครูและเพื่อน ๆ


เพียเจท์ (Piaget) เชื่อว่า

• พัฒนาการทางด้านเชาว์ปัญญาของเด็กเกิดจากการที่เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมรอบ ๆ ตัวเด็ก มีการรับรู้จากสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นตลอดเวลา และมีการปรับขยายประสบการณ์เดิม ความคิดและความเข้าใจให้ขยายมากขึ้น
• พัฒนาการของเด็กปฐมวัย (0 – 6 ปี)

1ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหววัย 0 – 2 ปี เด็กเรียนรู้ทุกอย่างทางประสาทสัมผัสทุกด้าน
2. ขั้นความคิดก่อนปฏิบัติการวัย 2 – 6 ปี เริ่มเรียนภาษาพูดและภาษาท่าทางในการสื่อสารยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง คิดหาเหตุผลไม่ได้จัดหมวดหมู่ได้ตามเกณฑ์ของตนเอง

การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก


• จัดกิจกรรมให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัส ทั้ง 5
  จัดให้เด็กฝึกฝนทักษะ การสังเกต การจำแนก เปรียบเทียบ
• จัดกิจกรรมให้เด็กมีโอกาสคิดหาเหตุผลเลือก และตัดสินใจสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง
• จัดให้เด็กได้เรียนรู้จากสิ่งใกล้ตัวไปสู่เรื่องไกลตัว และมีลักษณะที่เป็นรูปธรรม


   
ดิวอี้ (Dewey) เชื่อว่า  เด็กเรียนรู้โดยการกระทำ

การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก

• จัดกิจกรรมให้เด็กได้ประสบผลสำเร็จพึงพอใจต่อสภาพแวดล้อมของห้องเรียนเพื่อน ครู
• จัดบรรยากาศในห้องเรียน ให้เด็กมีโอกาสสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อสภาพแวดล้อม ครูและเพื่อน ๆ


สกินเนอร์  (Skinner) เชื่อว่า

• ถ้าเด็กได้รับการชมเชย และประสบผลสำเร็จในการทำกิจกรรม เด็กสนใจที่ทำต่อไป
• เด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ไม่มีใครเหมือนใคร


การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก

• ให้แรงเสริม เช่น ชมเชย ชื่นชม เมื่อเด็กทำกิจกรรมประสบผลสำเร็จ
 ไม่นำเด็กมาเปรียบเทียบแข่งขันกัน



เปสตาลอสซี่ (Pestalozzi) เชื่อว่า

• ความรักเป็นพื้นฐานสำคัญและจำเป็นต่อการพัฒนาเด็ก ทั้งด้านร่างกายและสติปัญญา
• เด็กแต่ละคนแตกต่างกัน ทั้งด้านความสนใจความต้องการ และระดับความสามารถในการเรียน
• เด็กไม่ควรถูกบังคับให้เรียนรู้ด้วยการท่องจำ

การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก

  จัดกิจกรรมเตรียมความพร้อม ให้ความรักให้เวลา และให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์


เฟรอเบล (Froeble) เชื่อว่า

• ควรส่งเสริมพัฒนาการตามธรรมชาติของเด็กด้วยการกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์อย่างเสรี
• การเล่นเป็นการทำงานและการเรียนรู้ของเด็ก

การปฏิบัติการพัฒนาเด็ก
  
   จัดกิจกรรมเรียนรู้ผ่านการเล่นอย่างเสรี


การนำไปประยุกต์ใช้

    การนำทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับธรรมชาติของเด็กและเหมาะสมกับพัฒนาการช่วงวัยของเด็กนั้นๆ เพื่อให้เด็กมีการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพในการเรียนรู้ต่างๆ



ประเมินตนเอง

    แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มาเรียนตรงต่อเวลา จดบันทึกเนื้อหาที่สำคัญ ตั้งใจฟังอาจารย์สอนและให้ความร่วมมือให้การตอบคำถาม



ประเมินเพื่อน

    วันนี้เพื่อนๆแต่งกายเรียบร้อยถูกระเบียบ ตั้งใจฟังอาจารย์และมีส่วนร่วมในการตอบคำถามระหว่างเรียน


ประเมินอาจารย์ผู้สอน

    อาจารย์แต่งกายเรียบร้อย หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส เวลาอาจารย์สอนอาจารย์จะยกตัวอย่างให้นักศึกษาได้คิดเห็นภาพต่อยอดความคิดได้ อาจารย์ใช้คำถามกระตุ้นความคิดของนักศึกษา





วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 2

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ครั้งที่ 2 วันอังคาร 26 สิงหาคม 2557

เวลาเรียน  08.30 - 12.20 น.




เนื้อหาความรู้

        อาจารย์ใช้คำถามปลายเปิดถามนักศึกษาว่า  " เรานึกถึงอะไรเกี่ยวกับเด็กปฐมวัย " เพื่อให้นักศึกษาได้คิดแสดงความเห็นซึ่งกันและกัน

- สิ่งที่กำลังจะเรียนรู้
- รายวิชาที่กำลังเรียนอยู่
- วิชาเอกของนักศึกษา

        จากนั้นมีรูปเด็กๆทำกิจกรรมต่างๆ เด็กได้อะไรจากการเล่นกิจกรรมนี้

รูปที่ 1 การตอกไข่ คือ ฝึกการสังเกต เด็กได้สัมผัส ได้สูดดม การลงมือทำ
รูปที่ 2 การเล่นตามมุม คือ เด็กได้ทักษะด้านต่างๆ การเลียนแบบ การจดจำ
รูปที่ 3 การปลูกต้นไม้ คือ เด็กได้เรียนรู้การเจริญเติบโตของต้นไม้ การรดน้ำ พรวนดิน ใส่ปุ๋ย การดูแล
รูปที่ 4 การติดทองคำเปลว คือ เด็กได้คาดคะเน ถ้าติดไม่แน่นทองคำเปลวก็สามารถหลุดได้

       เครื่องมือการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ประกอบด้วย

- คณิตศาสตร์
- ทักษะภาษา

       เด็กปฐมวัย vs การเรียนรู้วิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์เป็นยาขมสำหรับเด็กๆจริงหรือ?
= ไม่จริง เพราะพัฒนาการของเด็กเกิดจากการอยากรู้อยากเห็นอยากลอง

ถ้าเด็กๆเรียนวิทยาศาสตร์ตั้งแต่ชั้นอนุบาลจะยากเกินไปไหม?
= ไม่ยากเกินไป เพราะเด็กมีความสนใจ ให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์เรื่องนั้นๆ

ควรจะให้เด็กๆอนุบาลเรียนรู้วิทยาศาสตร์อย่างไร?
= การทดลองทำ การลงมือปฏิบัติ


วิทยาศาสตร์

     คือ ความพยายามของมนุษย์ที่เรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตัวเอง การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลง
     ความพยายามเช่นนี้ติวตัวของมนุษย์มาตั้งแต่แรกเกิด ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากธรรมชาติของเด็กในการเรียนรู้ อยากเห็น ช่างสังเกตและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่พวกเขาเจอและบางครั้งที่เป็นคำถามที่ยากเกินกว่าผู้ใหญ่จะตอบได้


*** การเรียนรู้ เป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมีทั้งทางบวกและทางลบ เพื่อเอาตัวรอดให้อยู่ในสังคม
ปัจจุบันได้



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

     ควรเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้ในสิ่งที่เด็กมีความสนใจ การใช้คำถามให้เด็กได้คิดต่อยอดความรู้ นำแนวการสอนของอาจารย์มาศึกษาเพิ่มเติมเพื่อใช้ในการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย

ประเมินตนเอง

-  มาเรียนตรงเวลา 
-  แต่งกายเรียบร้อย  
-  จดบันทึกสรุประหว่างการเรียนการสอนของอาจาย์ 
-  มีส่วนร่วมในการแสดงความเห็นที่อาจารย์ถามในห้องเรียน

ประเมินเพื่อน

  แต่งกายสะอาดเรียบร้อย 
-  ตั้งใจเรียนกันทุกคน 
-  มีส่วนร่วมในห้องเรียน

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

-  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
-  หน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส
-  ตั้งใจสอนให้ความรู้อย่างเต็มที
-  อธิบาย ใช้คำถามกระตุ้นความคิดกับนักศึกษา